ดอกซ่อนกลิ่น ดอกหอม บำรุงร่างกาย รักษาโรคได้

ดอกซ่อนกลิ่น

ดอกซ่อนกลิ่น บำรุงร่างกาย และการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ จากน้ำมันหอมระเหย ดอก และเหง้า ในสมัยก่อนนั้น คนไทยนำดอกซ่อนกลิ่น มาใช้ประโยชน์ในการซ่อนกลิ่นศพ จึงไม่ค่อยมีใครใช้ หรือปลูกไว้ในบ้านกัน เพราะเชื่อว่าเป็นลางไม่ดี แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีการใช้แล้วก็ตาม เรามาทำความรู้จัก กับดอกไม้กลิ่นหอมรันจวนใจ กินบำรุงร่างกายได้ขนิดนี้กัน

ข้อมูลแนะนำ ต้นซ่อนกลิ่น

ชื่อ: ซ่อนกลิ่น
ชื่อภาษาอังกฤษ: Tuberose
ชื่อวิทยศาสตร์: Poliamtues tuberosa Lin.
ชื่ออื่น: ดอกรวงข้าว, ดอกลีลา, ต้นลั่นทม, หอมไกล หรือ หอมไก๋ (ภาคเหนือ), ดอกเข่า (ภาคอีสาน)
วงศ์: Amaryllidaceae
ถิ่นกำเนิด: ในทวีปอเมริกาใต้ พบตามแถบเทือกเขาแอนดีส ในทวีปเอเชียครั้งแรก ที่ฟิลิปปินส์โดยชาวสเปน และสันนิษฐานว่า เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ที่มา: ซ่อนกลิ่น [1] 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นซ่อนกลิ่น

ซ่อนกลิ่น เป็นพืชไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2 – 3 ฟุต สามารถออกดอก ได้ตลอดทั้งปี

  • ลำต้น: ต้นซ่อนกลิ่น นั้นจะมีหัวอยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีลักษณะ คล้ายกับหัวหอม ลำต้นนั้นจะ แทงออกจากหัว เป็นลักษณะกลมตรง มีสีเขียว
  • ใบ: ใบซ่อนกลิ่น จะมีลักษณะเรียวยาว ใบจะยาวประมาณ 30 cm. มีสีเขียว ใบจะโผล่ออกมาจากลำต้น
  • ดอก: ดอกซ่อนกลิ่น จะออกดอกเป็นช่อ และชูช่อออกจากตรงกลางกอของลำต้น ดอกซ่อนกลิ่นจะมีสีขาว
  • กลีบดอก: กลีบของดอกซ่อนกลิ่น แต่ละกลีบจะไม่เท่ากัน มีกลิ่นหอมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวลากลางคืน

 

ที่มา: ซ่อนกลิ่น พืชดอกมีกลิ่นหอม สมุนไพร สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย [2]

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์: ซ่อนกลิ่นขยายพันธ์ด้วยหัว ทำได้ 3 วิธี คือ

  • 1. ใช้มีดตัดแยกหน่อ ที่ขึ้นมาจากกอเดิม จะใช้วิธีนี้ทำกับกอ ที่ยังไม่เคยออกดอกมาก่อน หน่อที่ได้ถึงจะสมบูรณ์
  • 2. ขุดหัวขึ้นมา เอาไปเพาะเลี้ยง เป็นวิธีที่ สะดวก ทำได้ง่าย และโอกาสสำเร็จค่อนข้างสูง ก่อนจะเก็บหัวขึ้นมา จะต้องทำให้ ซ่อนกลิ่นโทรมก่อน วิธีการก็คือการค่อยๆ ลดน้ำลงเรื่อยๆ จนใบหลือง แล้วค่อยขุดหัวขึ้นมา
  • 3. การตัดแบ่งหัว ที่มีตาติดมาด้วย (ตา จะ เป็นส่วนที่ใบนั้น สามารถงอกขึ้นมาได้ จะมีลักษณะเป็นปุ่มเล็กๆ ยื่นออกมาจากหัว) แล้วเอาไปเพาะเลี้ยง โดยวิธีนี้จะต้องใช้เวลานาน และก็จะต้อง เป็นคนที่ชำนาญ ดูตาเป็น ถึงจะทำได้

 

ที่มา: วิธีการปลูกซ่อนกลิ่น [3]

สรรพคุณของ ซ่อนกลิ่น

  • เหง้า: เหง้าดอกซ่อนกลิ่นมีสรรพคุณหลายอย่างเช่น ลดการอักเสบ ลดความตึงเคลียด ทำให้ใจเย็น จิตใจสงบ นอนหลับง่าย อีกทั้งความหอมอ่อนโยน เย้ายวนใจนี้ ยังช่วยผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยกระตุ้นอารมณ์กำหนัดได้
  • น้ำมันหอมระเหย: น้ำมันหอมระเหยจากดอกซ่อนกลิ่น มีสรรพคุณช่วยต้านเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียได้
  • ดอกซ่อนกลิ่น: มีสรรพคุณ ลดการอักเสบ สามารถช่วยผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยลดความตึงเคลียด รวมไปถึงช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น และยังสามารถกระตุ้นกำหนัด ได้อีกด้วย

 

ดอกซ่อนกลิ่น เป็นอีกหนึ่งใน ดอกไม้กินได้ ที่มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคได้หลากหลาย แต่มักไม่นิยมนำมากินเป็นผักสด เนื่องจากมีสารบางชนิด ที่อาจก่อให้เกิดอาการไม่สบายตัวได้ในบางคน

ซ่อนกลิ่นดอกลา กับซ่อนกลิ่นดอกซ้อน

ในประเทศไทยบ้านเรานี้ จะมีดอกซ่อนกลิ่นอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ที่พบเห็นกันโดยทั่วไปคือ

  • ซ่อนกลิ่นดอกลา กลีบดอกของเขาจะมีแค่เพียงชั้นเดียว มีกลิ่นหอมแรง มักจะนิยมนำไปสกัดเอาน้ำมันระเหย ไปทำเป็นหัวน้ำหอม และจะถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่แพร่หลายมากที่สุด พบเห็นกันได้โดยทั่วไป
  • ซ่อนกลิ่นดอกซ้อน ก็ซ้อนตามชื่อเลย ในที่นี้คือ กลีบดอกซ้อนกันสองชั้น แม้จะมีกลิ่นหอมอ่อนกว่า ซ่อนกลิ่นดอกลา แต่ว่าให้ดอกสวยกว่า โดยสายพันธุ์นี้ มักจะนิยมนำไปประดับตกแต่งสถานที่ หรือในงานพิธีต่างๆ มากกว่า

การดูแล ดอกซ่อนกลิ่น

ซ่อนกลิ่น ดูแลไม่ยาก ชอบอยู่ในที่แดดจัดๆ น้ำ ความชื้นปานกลาง แต่จะไม่ชอบดินที่น้ำท่วมขัง หรือระบายน้ำได้ไม่ดี 2 – 3 วันรดน้ำที หรือดูว่าดินแห้งมากน้อยแค่ไหนก็อาจจะปรับให้น้ำถี่ขึ้นก็ได้ ซ่อนกลิ่นจะโตเร็ว ในช่วงหน้าฝน แตกกอสูงใหญ่กว่าช่วงอื่นๆ ออกดอกน้อยลง แต่ใบอาจจะเยอะขึ้น ควรระวังโรคต่างๆ ที่มากับฝน เพราะในช่วงหน้าฝนนี้อาจทำลายกอได้ จะต้องลงมาดูแลตัดแต่งใบบางส่วนออก ให้กอโปร่งโล่งเอาไว้ จะได้เป็นการลดโอกาสเป็นโรคได้ สิ่งสำคัญเพียงเท่านี้

สรุป ดอกซ่อนกลิ่น หอมอย่างมีคุณค่า รักษาโรคได้

ดอกซ่อนกลิ่น

สรุป ดอกซ่อนกลิ่น แม้ว่าจะมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ และถูกใช้ในด้านความงาม และเครื่องหอมมาช้านาน แต่ในการบริโภคโดยตรงมักไม่นิยมนำมารับประทานสด เนื่องจากมีสารบางชนิด ที่อาจก่อให้เกิดอาการไม่สบายตัวได้ในบางคน อย่างไรก็ตาม ในบางตำรับยาแผนไทย ดอกซ่อนกลิ่นถูกใช้เป็นสมุนไพรเพื่อบำรุงหัวใจ และช่วยผ่อนคลาย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง