ข้าวเหนียวโบก มะม่วงป่า ทานง่ายแถมยังอร่อย

มะม่วงป่า

มะม่วงป่า เป็นผลไม้ป่า อีกหนึ่งชนิด ที่อยู่คู่กับคนไทย มาเนิ่นนาน ต้นเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ มักจะขึ้นตาม ในป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าทั่วไป เป็นบางส่วน ผลทานง่าย ทานได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน อร่อยถูกใจ ทั้งคน และสัตว์ป่า ที่อาศัยอยู่แถวนั้น

มะม่วงป่าผลไม้ที่ทานง่ายแถมยังอร่อย

มะม่วงป่าที่ มีความอร่อย ไม่แพ้ไปกว่า มะม่วงสายพันธุ์อื่นๆ นอกจากจะเป็น ผลไม้แล้ว ยังถือว่าเป็น อาหารที่ทานง่าย แต่อร่อยมาก ซึ่งคนสมัยก่อน จะนิยมนำ มะม่วงมาทาน คู่กับข้าว โดยการควัก เมล็ดออกก่อน แล้วยัดข้าวเหนียว ใส่เข้าไปให้เต็มผล หรือที่เรา เรียกกันว่า ข้าวเหนียวโบกมะม่วง

มะม่วงป่ากับข้อมูลทั่วไป

ชื่อต่างๆของมะม่วงป่า และถิ่นกำเนิด

  • ชื่อไทย : มะม่วงป่า
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera caloneura Kurz
  • ชื่อสามัญ : Mango tree
  • ชื่อวงศ์ : Anacardiaceae
  • ชื่อท้องถิ่น : มะม่วงป่า มะม่วงพรวน มะม่วงเทพรส มะม่วงกะล่อน มะม่วงขี้ไต้
  • ถิ่นกำเนิด : มีถิ่นกำเนิด ในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ จะพบได้ในประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศจีนตอนใต้ เป็นต้น
  • กระจายพันธุ์ : ในประเทศไทย สามารถพบ ได้ตามป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ และป่าดิบแล้ง

ที่มา: มะม่วงป่า [1]

มะม่วงป่ามีลักษณะทั่วไปอย่างไร

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง และสูงประมาณ 20-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มสูงเปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่อง เปลือกนอกมี สีน้ำตาล ส่วนเปลือกข้างใน จะมีสีเหลือง ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะกลายเป็นสีน้ำตาลดำ

ใบ : ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ก้านใบมีสีเขียว ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ใบจะเหนียว มีสีเขียวเข้ม ส่วนใบอ่อน จะสีม่วงแดง

ดอก : ออกดอก เป็นช่อแตกแขนง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองอ่อน หรือสีครีม มีกลีบดอก และกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอม

ผล : ผลจะมีลักษณะ รูปทรงกลม มีเนื้อข้างใน ค่อนข้างน้อย เนื้อจะมีสีขาว หรือสีเหลือง เปลือกของผลจะบาง ผลอ่อนมีเปลือกผิว สีเขียวอ่อน พอผลเริ่มแก่ จะค่อยๆเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อน เป็นสีเขียวอมเหลือง ส่วนผลที่แก่เต็มที่จะเป็นสีเหลือง

เมล็ด : มีเมล็ดเดียว แต่เมล็ด จะมีขนาดใหญ่ เกือบเท่าตัวผล มีลักษณะ กลมแข็ง เป็นสีเหลือง

ที่มา: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ [2]

มะม่วงป่าผลไม้ที่มากไปด้วยคุณประโยชน์

มะม่วงป่า

มะม่วงป่าเป็น ผลไม้ป่า ที่หาทานได้ยากพอๆ กับ มะแฟน เพราะไม่ค่อยมีขาย ส่วนใหญ่จะเก็บ ผลจากในป่า นานๆ ทีถึงจะได้ทาน บางครั้งก็เก็บ ไม่ทันสัตว์ป่า ที่อาศัยอยู่แถวนั้น กินผลจน หมดเกลี้ยงเสียก่อน ด้วยกลิ่นที่หอม กับรสชาติที่หวานอร่อย เลยถูกใจผู้บริโภค ทั้งคนและสัตว์ป่า

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมะม่วงป่า

มะม่วงป่าผลไม้ ที่หลายๆท่าน อาจจะยังไม่เคยทาน ด้วยความที่ หาทานได้ยาก และไม่ค่อยมีขาย จะออกผลในช่วงฤดูร้อน ผลจะมีขนาด ที่กลมเล็ก ประมาณเท่ากำปั้นเด็ก

  • มะม่วงป่า มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ ถึงแม้เนื้อข้างในสุกแล้ว แต่เปลือกผล ก็ยังเป็นสีเขียว ผลดิบจะมี รสชาติเปรี้ยว ถ้าผลเริ่มสุก จะเปรี้ยวอมหวาน เมื่อผลสุกเต็มที่แล้ว จะมีรสชาติ ที่หวานมาก และที่สำคัญคือ ผลสุกของมะม่วงป่า จะมีกลิ่นที่หอมมาก
  • มะม่วงป่า จะนิยมนำมาทานคู่ กับข้าวเหนียวเป็นหลัก โดยการควัก เมล็ดออกก่อน แล้วยัดข้าวเหนียว เข้าไปให้เต็มลูก จากนั้นก็ทานได้เลย โดยที่ไม่ต้องปรุงรสใดๆ สามารถทาน เป็นอาหารได้เลย รับรองว่าอร่อย แถมยังอิ่ม ทำให้อยู่ท้อง ได้นานอีกด้วย
  • ยอดใบอ่อน นำมาทานเป็นผักสด จิ้มทานคู่ กับน้ำพริก หรือทานคู่ กับอาหารอื่นๆ ได้หลากหลายเมนู ถือว่าอร่อย และเข้ากันได้ดี

มะม่วงป่ามีสรรพคุณกับสิ่งที่ควรรู้ก่อนทาน

สรรพคุณทั่วไป

  • ผลช่วยต้านโรคมะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระ
  • ผลช่วยชะลอความแก่ กับช่วยเสริมภูมิต้านทาน
  • เปลือกของต้น โดยการนำเปลือก มาต้มดื่ม จะช่วยแก้ อาการท้องเสีย และช่วยขับ ปัสสาวะให้ดีขึ้น

ที่มา: สรรพคุณมะม่วงป่า [3]

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทานผล

  • ก่อนที่จะนำมามะม่วงมาทาน สิ่งแรกที่ควรทำ คือล้างมะม่วง ให้สะอาดก่อน ที่จะทานทุกครั้ง เพราะถึงแม้ว่า จะเก็บมาจากป่า เป็นผลไม้ ที่ปลอดจากสารพิษก็ตาม แต่บางครั้ง ผลที่เราเก็บมานั้น อาจมีแมลง ตัวเล็กๆเกาะอยู่ที่ผล โดยที่เราไม่ทันได้สังเกต และเผลอทานเข้าไปด้วย
  • ผลที่ตกลงพื้น หรือที่เก็บมาจากพื้นดิน อย่าเก็บมาทานโดยทันที ให้ล้างก่อน เพราะอาจมีเศษดิน หรือเชื้อโรค ที่เรามองไม่เห็น เกาะอยู่ที่ผล ถ้าหากไม่ล้าง ให้สะอาดดีก่อน ทานเข้าไป อาจทำให้ท้องเสียได้

สรุป มะม่วงป่า ผลไม้เพื่อสุขภาพที่ดี

สรุป มะม่วงป่า เป็นผลไม้ป่า ที่อยู่คู่กับคนไทย มาเนิ่นนาน ต้นจะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ มีหลายรสชาติ เมื่อผลสุกแก่ จะมีกลิ่นหอม และหวานมาก คนไทยชอบ นำมาทานเป็น ข้าวเหนียวโบกมะม่วง ทานง่าย แถมยังมีสรรพคุณ และประโยชน์ที่นอกจากทำให้อิ่มแล้ว ยังทำให้มีสุขภาพดีอีกด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง