หมากคายข้าว ยาสมุนไพรพื้นบ้านของภาคอีสาน

หมากคายข้าว

หมากคายข้าว หรือ เงาะป่า เป็นผลไม้ป่า อีกชนิดหนึ่ง ที่ออกตามฤดูกาล หนึ่งปีจะออกผล แค่ครั้งเดียว และหาทานได้ยาก เพราะไม่ค่อย มีใครนิยมปลูก ส่วนใหญ่แล้ว จะพบต้นทาง ภาคอีสานเป็นหลัก ซึ่งต้นจะเป็นไม้เถาแข็ง หรือเป็นเครือ จะอาศัยเลื้อยขึ้น ตามต้นไม้ใหญ่ ที่สามารถช่วยพยุงต้น ให้แข็งแรงได้

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ หมากคายข้าว

หมากคายข้าวผลไม้พื้นบ้าน ของภาคอีสาน ที่คนอีสานรู้จักกันดี และนิยมรับประทานผล โดยผลจะมีรสชาติ เปรี้ยวอมหวาน มีเนื้อใส่ฉ่ำน้ำ และกลิ่นหอมเฉพาะตัว ผลจะคล้ายกับเงาะ พบได้ตามป่าเต็งรัง หรือป่าดิบชื้น ปัจจุบันเริ่มหาทานได้ยาก หรือบางที่อาจ จะสูญพันธุ์ไปแล้ว

เรื่องน่ารู้ของหมากคายข้าว

หมากคายข้าวจะมี กลิ่นหอมเฉพาะตัว ออกผลปีละครั้ง ต้นอยู่ในป่า ซึ่งผลจะหาทาน ยากพอๆ กับผลไม้ป่าชนิดอื่นๆ เช่น คอแลน มะม่วงป่า และ มะแฟน เป็นต้น

  • ชื่อ : หมากคายข้าว
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Uvaria hirsuta Jack.
  • ชื่อพ้อง : Guatteria pilosa G.Don, Uva hirsuta (Jack) Kuntze, U. pilosa (G.Don) Roxb., U. subcordata Miq., U. trichomalla Blume
  • ชื่อวงศ์ : Annonaceae
  • ชื่อสมุนไพร : เงาะป่า
  • ชื่ออื่นๆ : คายข้าว เงาะพวงผลกลม

ที่มา: เงาะป่า หมากคายข้าว [1]

ลักษณะทั่วไปของหมากคายข้าว

ลักษณะของต้น : จะเป็นไม้เถา เนื้อแข็ง ที่ยาวประมาณ 10 – 20 เมตร เปลือกลำต้น จะเป็นสีดำ ที่แตกเป็นร่อง กิ่งอ่อนนั้น จะมีขนยาว คล้ายกับรูปดาว

ลักษณะใบ : เป็นใบเดียว ใบเรียงสลับกัน ใบเหมือนรูปขอบขนาน หรือ รูปวงรีแกมขอบขนาน ส่วนโคนใบกลม ปลายใบเรียวแหลม ถ้าใบอ่อน ตรงหลังใบมีขน และท้องใบ จะมีขนหยาบแข็ง เป็นรูปดาว ที่มีสีน้ำตาล

ลักษณะดอก : จะเป็นดอกเดียว ออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกจะมีสีแดง ดอกรูปขอบขนาน ก้านดอกจะยาว มีกลีบเลี้ยงสีเขียว

ลักษณะผล : ผลของหมากคายข้าว จะมีรูปทรงกลม รูปทรงกลมรี รวมถึงรูปทรงกลมแบน เปลือกของผลจะมีขนยาว ที่ค่อนข้างแข็ง ผลอ่อนจะเป็น สีเขียวอ่อน ถ้าเริ่มสุกจะค่อยๆเปลี่ยนสี จากสีเขียวอ่อน กลายเป็นสีเหลือง ไปจนถึงสีส้ม และเมื่อผลแก่ จะเป็นสีแดง หรือสีน้ำตาล

ลักษณะเมล็ด : คล้ายกับรูปทรงรี เมล็ดจะแบน เป็นสีดำ และเมล็ด จะค่อนข้างแข็ง

ที่มา: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ [2]

หมากคายข้าว มีสรรพคุณ ช่วยแก้อาการปวดล้า

หมากคายข้าว

หมากคายข้าวคือผลไม้ ที่อยู่คู่กับชาว ภาคอีสาน มาเนิ่นนาน มีสรรพคุณเป็นยา ช่วยบำรุง โลหิตในร่างกาย ซึ่งผลจะออก ตามฤดูกาล อยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม ไปจนถึงเดือนสิงหาคม หากใครที่อยากทาน ก็สามารถหาซื้อ ตามตลาด ที่ขายของป่าทั่วไป เพราะช่วงที่ออกผล จะมีคนเข้าไปเก็บมาก

ทำไมถึงเรียกหมากคายข้าวว่าเงาะป่า

ที่มาของชื่อ เงาะป่า 

  • ผลของหมากคลายข้าว เป็นชื่อเรียกทางภาคอีสาน จะมีลักษณะภายนอก ที่คล้ายกับเงาะ บ้านเรามาก ซึ่งเปลือกของผลดิบ จะเป็นสีเขียวอ่อน หรือสีเขียว เมื่อสุกได้ที่แล้ว ก็จะเป็นสีแดง และเปลือกผิว จะมีขนยาวออกมา คล้ายกับขนเงาะ แต่จะมีขนที่ค่อนข้างแข็ง
  • เดิมสมัยก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่ จะเข้าไปหาของป่า จึงได้มีการ พบเจอกับ ต้นหมากคายข้าว แต่ยังไม่รู้จักชื่อ ด้วยลักษณะของผล ที่คล้ายกับเงาะมาก ถ้าไม่สังเกตดูดีๆ หรือ มองจากระยะไกล ก็จะคิดว่า เป็นเงาะบ้านเรา ชาวบ้านจึงเรียก กันว่า เงาะป่า นั่นเอง

สรรพคุณของหมากคายข้าว

สรรพคุณใช้เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน

  • เปลือก นำไปต้มดื่ม จะช่วย แก้กษัยเส้น เป็นอาการผิดปกติ ของสมดุลธาตุ ทั้งสี่ในร่างกาย ช่วยแก้ปวดล้า หรืออาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นในส่วนต่างๆ ของร่างกาย แก่นหรือเปลือกต้น นำไปแช่น้ำดื่ม จะช่วยบำรุงโลหิต ส่วนลำต้น จะใช้เป็นยาเย็น เป็นยาบำรุงกำลัง [3]

ประโยชน์ทั่วไป

  • รับประทาน ผลแบบสดๆ ได้เลย โดยที่ไม่ต้อง จิ้มทานกับเครื่องปรุงใดๆ เพราะผลมีรสชาติที่เปรี้ยว อมหวาน ทานง่าย แถมยังอร่อย
  • นอกจากผลที่ทานได้แล้ว ต้นไม้เถายังมีประโยชน์ ในการนำไปเผ่าเป็นถ่าน เพื่อเอาไว้ใช้ในบ้านเรือน หรือขาย

สรุป หมากคายข้าว ผลไม้อร่อยและมีประโยชน์

สรุป หมากคายข้าว ผลไม้พื้นบ้าน ทางภาคอีสาน ที่มีสรรพคุณเป็นยา ช่วยแก้อาการปวดล้าได้ดี มีรสชาติอร่อย กลิ่นหอม ทานได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ แต่เด็กเล็ก ควรอยู่ในความดูแล ของผู้ปกครองด้วย เพราะว่าผลมีเมล็ด อย่าปล่อยให้ ทานเองตามลำพัง เพื่อความปลอดภัย ต่อร่างกาย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง